top of page
impoweredstrategy

4 NO ที่ทำให้เจ้าของและธุรกิจอยู่ที่เดิม



จากการร่วมงานในฐานะที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรม เราพบว่ามีเจ้าของหรือผู้บริหารที่สามารถผลักดันธุรกิจของตัวเองให้เติบโตด้วยเทคโนยีได้เร็ว และ มีผู้บริหารที่ทำได้ช้ากว่าคนอื่น


หนึ่งในหลายๆปัจจัยที่เราพบว่าทำให้การผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรล่าช้า ส่วนหนึ่งพบว่าเกิดจาก mindset หรือชุดความเชื่อบางอย่างที่เจ้าของหรือผู้บริหารสั่งสมมาจากประสบการณ์ทำธุรกิจที่ยาวนาน

น่าสนใจว่าประสบการณ์ในธุรกิจเป็นเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างแรก, ประสบการณ์สร้างความเชี่ยวชาญและความมั่นใจให้กับเจ้าของธุรกิจในการตัดสินใจและการจัดการสถานการณ์ที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จในอดีต ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้พวกเขามีมุมมองที่กว้างขวางและการเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตัวเอง


อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของประสบการณ์คือมันอาจทำให้เจ้าของธุรกิจหยุดนิ่งและไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือความเสี่ยงใหม่ๆ การที่เคยชินกับกระบวนการและวิธีการทำงานเดิมๆ อาจทำให้พวกเขามองข้ามโอกาสในการนำเสนอนวัตกรรมหรือการปรับปรุงที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้ ยิ่งไปกว่านั้น, การยึดติดกับความสบายในสิ่งที่คุ้นเคยอาจทำให้พลาดการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดใหม่หรือการทดลองที่อาจนำไปสู่การค้นพบที่สำคัญได้


เร็วๆนี้ผมได้อ่านบทความจาก Harvard Business Review ในหัวข้อชื่อว่า "Why Real-Time Leadership Is So Hard" และเห็นว่าผู้เขียน (Ryan Quinn, Bret Crane, Travis Thompson, และ Robert E. Quinn) สามารถสรุปอุปสรรคของการเป็นผู้นำได้อย่างดีมาก

ไม่ใช่แค่บทความนี้จะสามารถตีความได้ในมุมของความเป็นผู้นำอย่างเดียวตามที่ผู้เขียนได้ตั้งใจ ผมยังมองว่าเราสามารถตีความว่า 4 No(s) นี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์กร และขัดขวางการเกิดนวัตกรรมได้


จึงอยากนำมานำเสนอถึงกับดักของคำว่า "No" ทั้งสี่ที่ทุกผู้ประกอบการจะเจอ

เลยอยากนำ 4 No มาผสมผสานกับเคสจริงๆจากลูกค้าที่บริษัทของเราเคยเจอให้ทุกท่านได้ฟังกันครับ


1. No Alternatives หรือไม่มีทางออกอื่นๆ


เมื่อเจ้าของ ผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน เป็นผู้เชี่ยวชาญมากๆในการทำงานนั้นๆ แนวทางและมุมมองทุกอย่างจะโฟกัสที่การ optimize หรือการทำสิ่งซ้ำเดิมให้ได้ดีที่สุด สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติมากๆเพราะว่าสมองของคนเรามีแนวโน้มที่จะยึดติดกับรูปแบบเดิมๆเพื่อให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น ลองนึกถึงตอนที่เราหัดขับรถใหม่ๆ เราอาจจะต้องใช้ความคิดเยอะมาก เช่น จะต้องถอนเบรกเมื่อไหร่ เหยียบคลัทช์ลึกขนาดไหน (ในกรณีคนที่เคยขับเกียร์กระปุก) ถอนเร็วแค่ไหน และต้องทำทั้งหมดนี่ในขณะที่หมุนพวงมาลัยและสังเกตุสิ่งรอบตัวไปด้วยว่า มีรถขับมาใกล้เราหรือเปล่า มีคนข้ามถนนไหม แต่เมื่อเราทำซ้ำๆมากพอ ชั่วโมงบินมากพอ เราแทบไม่ได้ต้องใช้ความคิดกับสิ่งเหล่านี้เลย ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติเพราะความมหัศจรรย์ของสมองของเราคือ มันมีวิธีที่จะสร้างชุดระบบคำสั่งที่สามารถทำงานไปเองโดยเราไม่ต้องมีสติก็ได้เพื่อประหยัดพลังงาน เช่นเดียวกันเมื่อคนเราทำอะไรมานานพอจะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "functional fixedness" หรือการยึดติดกับรูปแบบการทำบางอย่างเดิมๆ เพราะความความเชี่ยวชาญของเราทำให้สมองเราใช้ระบบอัตโนมัติในการตัดสินใจทำงานของเราไปแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีมากๆสำหรับผู้ที่ต้องทำงานซ้ำๆเหมือนเดิม แต่จะเป็นศัตรูตัวร้ายกาจสำหรับนวัตกรรม

.

หลายครั้งเมื่อเราสัมภาษณ์ผู้บริหารว่า ถ้ากำไรบริษัทกำลังลดลง เขาจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้ คำตอบก็คือ การลดต้นทุนให้หนักกว่านี้ แน่นอนว่าไม่ผิด แต่การทำสิ่งเหล่านี้ก็จะกลับไปเหมือนกับสิ่งที่เขาพยายามทำมาโดยตลอดอยู่แล้ว สรุปก็คือพยายามทำสิ่งเดิม ให้มากขึ้น ที่เราเคยเจอเช่นผู้บริหารใช้วิธีไปกดดันทีมบัญชี ทีมบัญชีเมื่อโดนกดดันมาเลยไปลงกับ supplier เช่นขอต่อ ขอดึง credit term ขอลดราคาบางอย่างลงและลด spec ลงหน่อย กลายเป็นว่าทุกหน่วยงานในบริษัทนั้นได้รับผลกระทบเพราะบัญชีก็ถูกกดดันมาและต้องการจะสร้างผลงาน กลับกลายเป็นผลเสียกับบริษัทโดยภาพรวม สิ่งเรานี้คือ กับดัก เพราะหากมองจริงๆ นอกจากการลดต้นทุนมีหลายวิธีที่สามารถทำได้อย่างสร้างสรรค์มากกว่านี้แล้วนั้น การกลับมาที่วัตถุประสงค์ว่าทำไมถึงต้องการกำไรมากขึ้น

.

"มองที่วัตถุประสงค์เป็นหลัก" ทำไมเราอยากเพิ่มกำไร?

ก็เพราะต้องการให้บริษัทเติบโต ซึ่งคำว่าทำให้บริษัทเติบโตนั้นมีหลายกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมที่สามารถทำได้ แทนที่จะยึดติดกับการค้นหาวิธีการลดต้นทุนอย่างเดียว, ผู้บริหารควรพิจารณาถึงกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าและขยายตลาดใหม่ๆ การเปิดตลาดสินค้าในพื้นที่ใหม่หรือการพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น เป็นตัวอย่างของการทำงานอย่างมีนวัตกรรมและสร้างสรรค์ นอกจากนี้, การนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ

.

การเอาชนะ "functional fixedness" (การยึดติดกับฟังก์ชั่นการทำงานมากจนเกินไป) นี้ต้องการความพยายามในการท้าทายความคิดเดิมๆ และการมองหามุมมองใหม่ๆ การถามคำถามที่เปิดกว้างและส่งเสริมการคิดนอกกรอบเป็นสิ่งสำคัญ เช่น "เราจะเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าได้อย่างไร" หรือ "มีช่องทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงตลาดหรือลูกค้าได้อย่างไร" การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการยอมรับความเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญของการเป็นผู้นำที่สามารถนำพาองค์กรให้เติบโต


2. No Hopes หรือไม่มีหวัง


ความรู้สึกไม่มีหวัง สิ้นหวัง ไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้หรอก เป็นคำพูดปกติมากๆที่เราเจอ โดยเฉพาะยิ่งคนที่มีประสบการณ์สูงและทำงานมานาน คนเก่งๆและทำงานหนักหลายคนที่เราได้สัมภาษณ์จะมีคำยอดนิยมเช่น "ทำไปหัวหน้าก็ไม่เอาอยู่ดี" "ลองมาหมดแล้วไม่เวิร์ค" "เราเปลี่ยนอะไรเขาไม่ได้หรอก สู้เราก็ทำๆไปเหมือนเดิมอย่างนี้ดีกว่า" เพราะเราอาจเคยเผชิญประสบการณ์ที่เจ็บปวดมาก่อนจึงทำให้เกิดความคิดเช่นนี้ และความคิดเช่นนี้สามารถกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางทางความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนา

.

ในครั้งต่อๆไปเมื่อคุณเริ่มเจอความรู้สึกชนกำแพงแบบนี้ ทางผู้เขียนจาก HBR พอจะมีทางออกที่จะช่วยให้ทะลุออกมาจากกรอบได้ เช่น

"Review past successes" หรือลองคิดถึงสิ่งที่เคยทำสำเร็จมาก่อนในอดีต

ถ้าลองสังเกตุดู เคสความสำเร็จบางอย่างที่เราเคยทำมาในอดีตที่เรายังจดจำมาถึงทุกวันนี้มักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแบบที่เราไม่คาดคิดมาก่อน หรือจากการแหกกรอบบางอย่างของเรา

"Set learning goals" หรือตั้งเป้าหมายว่าต่อไปนี้ทุกอย่างที่เราทำคือการเรียนรู้

จริงๆแล้วจะขอเสริมนอกเหนือจากบทความของ HBR ว่าความล้มเหลวในวงการผู้ทำ software เป็นสิ่งที่เราชอบมากๆ เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า fail fast หรือล้มให้ไว้ลุกให้เร็ว หัวใจของการทำงานแบบ Agile คือเราเชื่อว่าเราไม่ทางเข้าใจหรอกว่า user จะอยากได้อะไรใน product ของเราถ้าเขาไม่เคยใช้มาก่อน ดังนั้นการนำ product ออกไปลองใช้ให้เร็ว เพื่อจะได้ล้มเหลว (ในกรอบที่ควบคุมได้) เพื่อได้ข้อเรียนรู้กลับมาแก้ไขต่อจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การลองทำโดยไม่กลัวความล้มเหลวและการกล้าล้มในกรอบที่ความคุมได้เป็นสิ่งที่จะทลายกำแพงความกลัวและความสิ้นหวังขององค์กรได้

"Break the challenge into smaller parts" การแตกปัญหาออกเป็นปัญหาย่อยๆ

หรือสิ่งที่ทีมของผมพูดกันจนติดปากว่า chunking เป็นการแตกปัญหาออกเป็นปัญหาขนาดพอดีคำเคี้ยวง่ายหรือที่เรียกว่า chunk และทำอะไรไรเสร็จก่อนก็ deploy ก่อนเลย ทำให้เรามองปัญาใหญ่ๆเล็กลงและลดความรู้สึกหวาดกลัวได้


3. No Time หรือไม่มีเวลา


อันนี้เป็นอีกมุมมองหนึ่งของปัญหา คือเราอาจจะไม่ได้มองทางแก้ปัญหาไม่ออก และเราก็ไม่ได้กลัวหรือรู้สึกสิ้นหวังด้วย แต่เราแค่ "ไม่มีเวลา" เป็นปัญหาสุดคลาสสิคของผู้นำเก่งๆทุกคนที่ยุ่งกับการทำงานมากจนรู้สึกว่าไม่เหลือเวลาที่จะมาทำเรื่องบางเรื่องที่สำคัญ

แนวทางการตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อทางออกจากกับดักนี้เช่น

"Which people or processes might I put more trust in?" หรือเราสามารถวางใจให้ใครทำสิ่งนี้ได้ไหม สำหรับผู้นำบางคน การไม่สามารถทิ้งในหน้าที่บางอย่างเกิดจากความที่เขาไม่กล้าปล่อยให้ลูกน้องทำหรือไม่กล้าให้คนอื่นทำเพราะไม่เชื่อ หรือไม่ก็คิดว่าตัวเองเหมาะสมที่สุดที่จะทำสิ่งนั้นและไม่มีใครเก่งกว่าตัวเอง

.

ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าหลายต่อหลายครั้งเป็นเรื่องจริงครับ จากการทำงานกับเจ้าของธุรกิจหลายท่านเราพบว่า ผู้บริหารหลายคนเก่งมากและมีความสามารถมากจนไม่ยอมวางมือ มีผู้บริหารที่เก่งกว่าลูกน้องในหลายเรื่อง และมีผู้บริหารทำเองยังไงก็ดีกว่าปล่อยลูกน้องไปทำ แต่กลับกลายเป็นว่ากับดักของความเก่งเกินไปนี้ส่งผลทำให้องค์กรหยุดชะงัก ขาดการเติบโต เพราะลูกทีมไม่ได้พัฒนา และผู้บริหารติดกับดักความยุ่งจนไม่สามารถมีเวลาทำอะไรได้อีก บางครั้งการยอมปล่อยและเชื่อในฝีมือของผู้อื่นให้ทำเป็นปัจจัยสำคัญมากในการผลักดันให้เกิดการเติบโตในองค์กร


"How might I fix organizational inefficiencies?" หรือเราสามารถจะปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร

อันนี้เป็นการตั้งคำถามเพื่อมองในอีกมุมหนึ่งคือ บางครั้ง บางอย่างในองค์กรที่ทำกันอยู่เป็นประจำก็ไม่ใช่สิ่งที่สมควรจะทำเพราะเสียเวลา ย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า เราควรต้องให้มีการประชุมนี้จริงๆหรือไม่ เราจำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนเยอะขนาดนี้ในการทำบางสิ่งบางอย่างจริงๆหรือ เราควรต้องให้ลูกน้องเราทำหน้าที่นี้หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่เราเจอบ่อยมากคือผู้บริหารชอบให้ทีมผู้ทำงานทำสรุปรายงานบางอย่างให้ตัวเองเป็นประจำ ซึ่งตัวรายงานดังกล่าวที่ต้องทำนั้นทีมก็ไม่มีวิธีจะใช้เทคโนโลยีหรือการ automation (การใช้ระบบอัตโนมัติ) มาช่วยให้งานเร็ว กลายเป็นว่าเป็นความเสียเวลาสุดๆของทีมทำงาน และลูกน้องก็ไม่มีความกล้าพอที่จะเสนอของบางอย่างที่อาจจะง่ายกับตัวเองกว่าใช้เวลาสั้นกว่าและตอบโจทย์ได้เหมือนกันกับผู้บริหาร กลายเป็นเกิดความขาดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรขึ้นมา


4. No Need หรือไม่มีความจำเป็น


บางครั้งเราไม่ได้รู้สึกว่าต้องทำสิ่งใหม่นี่นา ก็สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันก็ดีอยู่แล้วจะไปทำอะไรใหม่ๆให้เหนื่อยทำไม เราพบว่า No ตัวสุดท้ายนี้ เงีบบที่สุด และไม่ได้เกี่ยวกับการไม่กล้าแก้ปัญหา ไม่ได้เกี่ยวกับการมองทางแก้ปัญหา หรือไม่ได้เกี่ยวกับการไม่มีเวลาแก้ปัญหา แต่กลับเกี่ยวกับเราไม่ได้มองว่าสิ่งที่เราทำอยู่ "เป็นปัญหา" ตั้งแต่ต้นครับ

จริงอยู่ในสิ่งที่เราทำอยู่อาจจะดีอยู่แล้วและไม่ได้ผิดอะไรและไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไร แต่การที่องค์กรจะไปข้างหน้าหรือเกิดนวัตกรรมได้นั้น เราอาจต้องแสวงหาโจทย์ใหม่ๆที่ต้องแก้อย่างสม่ำเสมอ

ขอยกตัวอย่างคำถามและเคสจากในบทความต้นฉบับนะครับ

"Who cares about the work you’re doing, and what could you do to inspire those people?" หรือ ใครเป็นคนที่แคร์ในงานที่เราทำ และเราทำอย่างไรได้บ้างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขา

ในบทความยกตัวอย่างพนักงานบริษัทคนหนึ่งนามสมมติว่า ลิซ่า ที่ปกติทำเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี ก็ทำสรุปรายงานผลประกอบการตลอดทุกเดือน ไม่ได้ทำอะไรแปลกใหม่ จนอยู่ดีๆวันหนึ่งก็รู้สึกว่าเดือนนี้อยากลองทำสรุปงบการเงินแบบ info graphic (การนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพหรือชาร์ตประกอบ) ที่มีการ highlight ประเด็นสำคัญต่างๆเอาไว้ เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ย่อยข้อมูลได้ดีขึ้น และกระตุ้นจินตนาการ ปรากฎว่าผลงานของคุณลิซ่าคนนี้กลายเป็นที่พูดถึงและแชร์ต่อกันอย่างแพร่หลายในองค์กรทันที กระตุ้นทุกคนทำให้เกิดจินตนาการที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอด

"How could you transform this from good to great?" คุณสามารถจะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งทีดีอยู่แล้วเป็นสิ่งที่ดียอดเยี่ยมได้อย่างไร

อันนี้เรายกตัวอย่างเคสที่เราเคยร่วมงานกับทีมคณะทำงานของบริษัทหนึ่งที่เขาเองก็ทำงานแบบเดิมมาเป็นเวลากว่า 5 ปี โจทย์ของเจ้าของธุรกิจคือ เขาไม่สามารถปล่อยให้ทีมเขาทำงานต่อไปแบบเดิมได้เพราะไม่อย่างนั้นงานนี้จะไม่สามารถ scale ได้เลย (scale ไม่ได้คือ งานที่ไม่สามารถจะขยายให้เกิดผลผลิตมากขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยจำนวนคนหรือทรัพยากรที่เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก) เราใช้เวลาอยู่สักพักหนึ่งจนกระทั่งแสดงตัวอย่างและสามารถพิสูจน์งานของเราให้เขาเห็นได้ว่า หากใช้นวัตกรรมจะทำให้เขาทำงานเดิมที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นไปอีก ทำให้สุดท้ายแล้วทีมงานนั้นสามารถทลายกรอบของงานที่ "ดีอยู่แล้ว" ของตัวเอง และทำให้งานของพวกเขา "ดียิ่งขึ้นไปอีก" ได้ และสะท้อนกลับมาเป็นยอดขายที่เพิ่มให้กับบริษัทอย่างมหาศาล

.

เราจะเห็นได้ว่าทุกๆ No ที่ซ่อนอยู่ในการทำงาน ที่อาจจะเกิดมาจากประสบการณ์และความเก่ง กลับกลายเป็นกับดักสำคัญของเจ้าของ, ผู้บริหาร และทีมงานทุกคน

หน้าที่ของการเป็นเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารที่ดีคือการมองเห็นถึง No เหล่านี้ และพาธุรกิจให้หลุดจากกรอบของ No ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อผลักดันให้องค์กรเกิดนวัตกรรมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้อย่างอย่างยืนครับ




บริษัท ไอเอ็ม อิมพาวเวอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้าน AI Transformation ให้กับเจ้าของธุรกิจมากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เราเคยร่วมงานกับลูกค้าในหลายภาคส่วน ทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท, การท่องเที่ยว, ทัวร์, คลินิกเสริมความงามชื่อดัง, โรงพยาบาล, แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง และอื่นๆอีกมากมาย

ซึ่งนอกจากการให้คำปรึกษาแล้ว เรายังเป็นผู้พัฒนาโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์และสร้างสรรค์เฉพาะตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

เรามุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของคุณ

ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ทางด้าน AI ที่ลึกซึ้ง เราพร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดและมืออาชีพในการนำธุรกิจของคุณก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพและมั่นคงครับ

ติดต่อเราได้ที่: techlead@imimpowerconsulting.com

หรือนัดปรึกษากับเราว่า AI จะสามารถใช้งานในธุรกิจของคุณได้อย่างไร: https://calendly.com/joeimpower/business-introduction-call

(Book a FREE discovery call with us here!)

-

อ้างอิง

บทความนี้ได้แรงบันดาลใจมากจาก Harvard Business Review หัวข้อ "Why Real-Time Leadership Is So Hard

" โดย Ryan Quinn, Bret Crane, Travis Thompson, and Robert E. Quinn

5 views0 comments

Comments


bottom of page