top of page

AI ในธุรกิจ ผ่านมุมมองของ การสร้าง Innovation (นวัตกรรม)

ธุรกิจของเราควรใช้ AI อย่างไร?

หลายครั้งธุรกิจที่มาหาเราจะถามว่า เขาสามารถใช้ AI ในธุรกิจได้อย่างไร

ในปัจจุบันที่เราได้ยินคำว่า AI จากทุกที่ ใครๆก็พูดถึง AI และใครๆก็ใช้ chat GPT เป็น เราเห็นเคสของการใช้ AI มากมายที่จะพูดถึงด้านที่ดีของ AI อย่าง AI ช่วยให้การบริหารต้นทุนธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างไร AI ช่วยในการดูแลลูกค้าได้ดีขึ้นอย่างไร เราจะเอา AI มาทำงานแทนคนได้อย่างไร (ซึ่งหัวข้อนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุด) เราสามารถทำโรงแรมไร้พนักงาน ใช้แต่ AI ได้หรือไม่ ฯลฯ

ต้องบอกไว้ก่อนว่า คำจำกัดความของการนำ AI มาใช้ในธุรกิจในแบบที่เรามองคือ

 "การสร้างกลยุทธ์ ด้วยนวัตกรรมที่ผลักดันด้วย AI”

โดยกลยุทธ์หมายถึง "การที่ธุรกิจสามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าในรูปแบบที่คงความได้เปรียบและความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวได้"


AI ในธุรกิจธุรกิจและนวัตกรรม

คำว่านวัตกรรมสำคัญมากเพราะอย่างที่เราเคยกล่าวไว้ในบทความอื่นๆของเราว่า "AI ก็คือสาขาวิชาหนึ่ง (อ่านได้ใน https://www.imimpower.com/post/ai-คืออะไร-ฉบับเจ้าของธุรกิจ)" ในขณะที่นวัตกรรมคือการนำวิชานั้นมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจจริงๆ

แต่คำพูดนี้ยังเป็นอะไรที่กว้างอยู่มาก


วันนี้เราจึงจะขอมานำเสนอหนึ่งใน framework (เฟรมเวิร์ค:กรอบแนวความคิด) ของการค้นหานวัตกรรมด้วยวิธีของ Jeroen Kraaijenbrink อาจารย์สอนวิชากลยุทธ์จาก Amsterdam Business School และ นักกลยุทธ์ผู้เป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจหลากหลาย


คุณ Jeroen Kraaijenbrink ได้นำเสนอเมทริกซ์ 2x2 นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวช่วยในการมองเข้ามาภายในองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราควรจะสร้างนวัตกรรมในรูปแบบใด


ธุรกิจของเราควรใช้ AI อย่างไร? หลายครั้งธุรกิจที่มาหาเราจะถามว่า เขาสามารถใช้ AI ในธุรกิจได้อย่างไร ในปัจจุบันที่เราได้ยินคำว่า AI จากทุกที่ ใครๆก็พูดถึง AI และใครๆก็ใช้ chat GPT เป็น เราเห็นเคสของการใช้ AI มากมายที่จะพูดถึงด้านที่ดีของ AI อย่าง AI ช่วยให้การบริหารต้นทุนธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างไร AI ช่วยในการดูแลลูกค้าได้ดีขึ้นอย่างไร เราจะเอา AI มาทำงานแทนคนได้อย่างไร (ซึ่งหัวข้อนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุด) เราสามารถทำโรงแรมไร้พนักงาน ใช้แต่ AI ได้หรือไม่ ฯลฯ 1. Operation & Outward = Product Innovation (นวัตกรรมผลิตภัณฑ์) ประเภทที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือนำเสนอสินค้าและ/หรือบริการใหม่ๆขององค์กร 2. Operation & Inward = Process Innovation (นวัตกรรมกระบวนการ) มักจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานประจำวันขององค์กร 3. Strategic & Outward = Business Model Innovation นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจประเภทใหม่ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรสร้างคุณค่า สร้างตลาดใหม่หรือสร้างความต้องการใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบรายได้ใหม่เข้าสู่องค์กร 4. Strategic & Inward = Management Innovation นวัตกรรมการบริหาร เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานของระดับองค์กร (นวัตกรรมนี้ AI เป็นที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุด)
AI ในธุรกิจ ผ่านมุมมองของ การสร้าง Innovation (นวัตกรรม)

Outward vs. Inward


ขออธิบายเกี่ยวกับแกนแรกก่อน ในแกน Y เรากำลังพูดถึงว่านวัตกรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มไหน แบ่งเป็นสองส่วนคือ Outward และ Inward

Outward หมายถึงการมองออกไปข้างนอก นั่นคือนวัตกรรมที่มุ่งเน้นไปที่ตลาดในการทำสิ่งใหม่ๆให้กับลูกค้า

ในขณะที่ Inward หรือนวัตกรรมที่มุ่งเน้นภายในเป็นการนวัตกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเองและใช้กับคนในองค์กร


Operation vs. Strategic


สำหรับแกนที่สอง หรือแกน X เรากำลังพูดถึงนวัตกรรมด้าน operation หรือ strategic โดย operation คือการปฏิบัติงาน ที่มักจะเป็นเรื่องเชิงเทคนิค, เชิงประสิทธิภาพ จับต้องได้เช่น ลดต้นทุน, เพิ่มความเร็ว ในขณะที่นวัตกรรมด้าน strategic เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยรวมขององค์กรและการสร้างคุณค่าในรูปแบบใหม่ ที่มักจะเป็นภาพใหญ่

เมื่อได้แกนครบแล้วเราจะได้ประเภทนวัตกรรมทั้งสี่ประเภทจากการตีตาราง 2x2 ดังต่อไปนี้:


1. Operation & Outward = Product Innovation (นวัตกรรมผลิตภัณฑ์) ประเภทที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือนำเสนอสินค้าและ/หรือบริการใหม่ๆขององค์กร


2. Operation & Inward = Process Innovation (นวัตกรรมกระบวนการ) มักจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานประจำวันขององค์กร


3. Strategic & Outward = Business Model Innovation นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจประเภทใหม่ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรสร้างคุณค่า สร้างตลาดใหม่หรือสร้างความต้องการใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบรายได้ใหม่เข้าสู่องค์กร


4. Strategic & Inward = Management Innovation นวัตกรรมการบริหาร เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานของระดับองค์กร (นวัตกรรมนี้ AI เป็นที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุด)

เรามาไล่ดูไปทีละอันกันนะครับ



"Product Innovation"


Product Innovation เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและเรามักจะเห็นบ่อยที่สุด มันคือการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น

Recommendation Engine: เป็น AI ที่เห็นเกลื่อนที่สุด ตั้งแต่ Netflix, Hulu, Disney plus ที่แนะนำหนังต่างๆมาให้เราตามที่เราต้องการ หรือ Lazada, Shopee, Amazon ที่แนะนำสินค้าที่เราน่าจะต้องการซื้อมาให้กับเรา

AI-Powered Face Detection & Recognition: การใช้ AI ในกล้องเพื่อจับใบหน้าและจดจำใบหน้า ถูกนำมาใช้เพื่อการยืนยันตัวตน เช่นใช้เป็นฟีเจอร์เสริมบน kiosk ของโรงแรมต่างๆที่มีระบบ self-checkin ที่แค่สอดพาสปอร์ตหรือบัตรประชาชนเข้าไปในเครื่องแล้วมันก็จะเทียบใบหน้าเรากับรูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่

AI System for Clinical Decision Support: AI ที่ช่วยในการตรวจจับโรคในโรงพยาบาล เช่น AI ที่ช่วยคุณหมอตรวจภาพถ่ายโรคผิวหนัง, ตรวจภาพ x-ray หรือแม้กระทั่งช่วยสัมภาษณ์และคัดกรองคนไข้เบื้องต้น


"Process Innovation"


Process Innovation คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของการดำเนินงาน ตัวอย่างของ Process Innovation ได้แก่

Predictive Maintenance in Manufacturing: การใช้ AI ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงาน เช่น AI เพื่อทำการคาดเดาว่าอุปกรณ์ในโรงงานจะเสื่อมสภาพเมื่อไร, ตรวจจับความผิดปกติในวัตถุดิบหรือสินค้าในไลน์การผลิตด้วยการใช้ Anomaly Detection

AI in Stock Management: การใช้ AI ในการบริหารจัดการสต็อกสินค้า เพื่อการคาดการณ์ความต้องการสินค้า, การบริหารจัดการสต็อกอย่างมีประสิทธิภาพ, และลดความเสี่ยงของการขาดแคลนหรือสินค้าคงคลังเกินจำเป็น

AI in Customer Service Automation: แชทบอทและผู้ช่วยเสมือนที่ใช้ AI สามารถจัดการกับคำถามของลูกค้า, ให้ข้อมูล, และแก้ไขปัญหาทั่วไปได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าสามารถวางมือจากงานซ้ำๆที่ง่ายก็จริงแต่เยอะ และมุ่งเน้นไปที่งานที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพการบริการลูกค้าดีขึ้นในภาพรวม

AI in Human Resource Management: โดย AI สามารถช่วยกระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานโดยการวิเคราะห์ประวัติผู้สมัครใน CV และระบุผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ AI ยังช่วยในกระบวนการต้อนรับพนักงานใหม่, การฝึกอบรม, และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของพนักงาน ทำให้กระบวนการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น


"Business Model Innovation"


หรือนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ เป็นกระบวนการที่องค์กรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจ หรือในกรณีองค์กรใหม่คือการสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาโดยมี AI เป็นจุดขายหลัก เพื่อสร้างคุณค่าใหม่และเข้าถึงตลาดใหม่ๆ นวัตกรรมนี้มักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรสร้างรายได้และมอบคุณค่าให้กับลูกค้า

จะสังเกตุได้ว่าสิ่งที่ต่างกันระหว่าง Product Innovation กับ Business Model Innovation คือ นวัตกรรมดังกล่าวไม่ได้แค่ใช้ AI เป็นส่วนที่ส่งเสริมทำให้ผลิตภัณฑ์เดิมดีขึ้น แต่นวัตกรรมดังกล่าวใช้ความสามารถของ AI ในการสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ที่มี Unique Selling Proposition ใหม่ ดังนั้นการทำสิ่งเดิมให้อยู่ในรูปแบบใหม่ที่ดีขึ้นจึงไม่ถือเป็น Business Model Innovation แต่จะถือเป็น Product Innovation

ตัวอย่างของ Business Model Innovation ได้แก่

Chat GPT: โดยการนำ Generative Pretrained Transformer (GPT) มาสร้างแอพฯครอบเข้าไปให้คนทั่วไปสามารถใช้งานผ่านการแชท และขายผลิตภัณฑ์นี้ในรูปแบบ subscription, API, enterprise solution หรือการสร้างระบบ Marketplace เปิดให้ developer ทั่วไปสามารถสร้างโปรแกรมอะไรก็ได้ on-top ตัวโปรแกรมเดิม

AI powered Fitness Subscription App เช่น Train by trainfitness.ai: การสร้างแอปพลิเคชั่นสมัครสมาชิกสำหรับการออกกำลังกายที่ใช้ AI เป็นจุดเด่นช่วยในการสร้างแผนการออกกำลังกายส่วนบุคคลโดยอิงจากข้อมูลทางกายภาพและความชอบส่วนบุคคลและเป้าหมายของแต่ละคน เช่น กระชับกล้ามเนื้อ, ลดไขมัน, หรือสร้างกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ แอปพลิเคชั่นดังกล่าวเชื่อมต่อกับ Apple Watch และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในเรียลไทม์และปรับเปลี่ยนแผนการออกกำลังกายได้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

AI in Investing (AI-driven Fintech): มีเยอะมากเช่นเดียวกันในการนำ AI มาช่วยประกอบการตัดสินใจสำหรับการลงทุน เลือกหุ้น วิเคราะห์กราฟ แนะนำกลยุทธ์และคาดการณ์กำไร โดยเก็บเงินจากลูกค้าเป็นค่า subscription รายเดือนหรือรายปี (เนื่องจากบทความนี้ไม่ใช่บทความเพื่อชี้นำการลงทุนดังนั้นจะขอไม่ยกตัวอย่างครับ แต่ทุกท่านสามารถเสิร์ชกูเกิ้ลดูคีย์เวิร์ด AI-driven Fintech ดูจะพบว่ามีอยู่เยอะมากจริงๆ)


"Management Innovation"


คือการนำเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารในองค์กร ในส่วนตัวผมมองว่าเป็นนวัตกรรมที่ยากที่สุดและเห็นน้อยที่สุด เพราะหากพูดถึง Management Innovation เฉยๆที่ไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี คือหมายถึงการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานในองค์กร (อันนี้ต้องเน้นย้ำว่า การนำ AI มาช่วคิดกลยุทธ์ หรือการนำ AI มาเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ Management Innovation แต่จะถือเป็น Process Innovation รูปแบบหนึ่งเท่านั้นเพราะ AI ยังถือว่าช่วยงานใน Process หนึ่งของทีมอยู่ดี) เราคงยังไม่ได้เห็น AI ในลักษณะนี้อีกสักพักหนึ่งหาก AI ยังไม่สามารถทำงานแทนผู้บริหารได้นะครับ แต่ในอนาคตก็มีหลายคนทำนายถึงการเกิดขึ้นของ การสร้าง Artificial General Intelligence ที่สามารถมีการตัดสินใจและเข้าใจโลกในรูปแบบเดียวกับมนุษย์หรือเหนือกว่า ซึ่งอันนี้จะขอยกไว้พูดคุยกันในบทความถัดๆไปของเราแล้วกันนะครับ



สรุปอีกครั้งของเลือกนวัตกรรม AI ในธุรกิจ

ควรทำ Process Innovation ถ้า...

ปัญหาหลักของธุรกิจคือการต้องการลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน (เช่นงาน AI ทุกอย่างที่เกี่ยวกับ Back Office Operation, Warehouse Management ฯลฯ)

ถ้าต้องการลดปริมาณคนในงานที่ทำซ้ำๆ (เช่นงาน AI ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการทำ complex data pipeline, AI-powered task automation)

ต้องการหาวิธี scale ธุรกิจให้เติบโตได้โดยต้นทุนค่าจ้างพนักงานไม่เพิ่มตาม (เช่น AI ในงาน Operation รวมๆโดยเฉพาะงาน Customer Operation ที่ต้องรองรับลูกค้าเพิ่มขึ้นโดยไม่อยากจ้างพนักงานเพิ่ม)

ควรทำ Product Innovation ถ้า...

เป้าหมายคือการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือการบริการที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือการ cross-sell / up-sell สินค้าเดิมโดยไม่ต้องใช้คน (เช่นงานประเภท Recommendation System, AI for disease detection in healthcare)

ต้องการสร้าง Feature ใหม่เพื่อความ WOW! ในสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ ทำให้ดูต่างจากคู่แข่ง (ลองนึกถึงลูกเล่นต่างๆที่นำ AI มาเสริมทำให้สินค้าดูสนใจขึ้น)

ควรทำ Business Model Innovation ถ้า...

ต้องการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ หรือกลุ่มลูกค้าใหม่

ต้องการเปลี่ยนวิธีสร้างรายได้ (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ อยากขยายประเภทของธุรกิจที่ทำ หรือ โมเดลธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่สามารถขยายต่อได้)

ความจริงแนวทางการคิดนวัตกรรมยังมีอยู่อีกมากนะครับ สามารถรอติดตามได้ในบทความต่อๆไปนะครับ



บริษัท ไอเอ็ม อิมพาวเวอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้าน AI Transformation ให้กับเจ้าของธุรกิจมากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เราเคยร่วมงานกับลูกค้าในหลายภาคส่วน ทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท, การท่องเที่ยว, ทัวร์, คลินิกเสริมความงามชื่อดัง, โรงพยาบาล, แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง และอื่นๆอีกมากมาย

ซึ่งนอกจากการให้คำปรึกษาแล้ว เรายังเป็นผู้พัฒนาโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์และสร้างสรรค์เฉพาะตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

เรามุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของคุณ

ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ทางด้าน AI ที่ลึกซึ้ง เราพร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดและมืออาชีพในการนำธุรกิจของคุณก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพและมั่นคงครับ

ติดต่อเราได้ที่: techlead@imimpowerconsulting.com

หรือนัดปรึกษากับเราว่า AI จะสามารถใช้งานในธุรกิจของคุณได้อย่างไร: https://calendly.com/joeimpower/business-introduction-call

(Book a FREE discovery call with us here!)

59 views0 comments

Comments


bottom of page