top of page

GPT และ AI ในธุรกิจโรงแรม : ในโลกที่ทุกคนใช้ AI เป็น

Updated: Dec 20, 2023

คงปฎิเสธไม่ได้ว่าในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรมนั้น AI กำลังเป็นที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการหลายท่านคงมีคำถามว่า AI มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร?, การประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจทำได้อย่างไรบ้าง?, AI ในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง? ในอนาคตข้างหน้าจะนำ AI มาใช้งานอย่างไรกับธุรกิจ? เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว AI ได้ถูกใช้งานในธุรกิจโรงแรมมาอย่างยาวนานและแพร่หลายมากๆ อย่างเช่นในปัญหา optimization การตั้งราคาห้องใน season หรือวันต่างๆของปีเพื่อ optimize รายได้ หรือการที่ธุรกิจ platform ท่องเที่ยวอย่าง Agoda หรือ Booking นำเสนอโรงแรมหรือวิลล่าที่ลูกค้าน่าจะสนใจ เป็นต้น

( สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจมากขึ้นว่า AI คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง สามารถอ่านบทความของเราเพิ่มเติมได้ที่นี่ AI คืออะไร ฉบับเจ้าของธุรกิจ ) แต่สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึง AI ประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่พูดถึงและโด่งดังอย่างมากคือ GPT (Generative Pretrained Transformer)

ภาพในจินตนาการของหุ่นยนต์ทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI, ซึ่งเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมในธุรกิจโรงแรมยุค 4.0 และการประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจ, แสดงถึงอนาคตของโรงแรมไร้พนักงาน และเป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีล้ำๆ ในการบริการโรงแรมที่นำพาธุรกิจโรงแรมเข้าสู่ยุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจินตนาการ: นวัตกรรมใหม่ในโรงแรมยุค 4.0 หุ่นยนต์ผู้ช่วยพนักงานต้อนรับ AI สร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร

ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังมานี้ หลังจากการปล่อย chat GPT ที่โด่งดังโดย open AI ให้คนทั่วโลกได้ใช้งานรวมถึงการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ชื่อดังอย่าง Meta (facebook) หรือ Alphabet (Google) ต่างก็ปล่อยโมเดลคู่แข่งของ chat GPT ออกมาอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น Bard หรือ llama เจ้าของโรงแรมทุกท่านที่ติดตามและเคยได้ยินหรือเคยใช้งาน chat GPT มาก่อนคงอดที่จะคิดไม่ได้ว่า AI ดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร และสามารถประยุกต์ใช้ AI เหล่านี้ในธุรกิจของเราได้อย่างไร


วันนี้เราจะมาพูดถึงแนวทางการประยุกต์ใช้ GPT (และแน่นอน เช่นเดียวกับกลุ่ม Large Language Model อื่นๆ) ในธุรกิจโรงแรมกันนะครับ


(บทความนี้จะขอใช้คำว่า AI ที่เป็นคำง่ายๆที่คนทั่วไปเข้าใจเป็นหลัก โดยสำหรับคนที่เป็น engineer หรือ computer scientist อาจจะขัดใจบ้างว่าการใช้ในบางบริบทผิดหลักทฤษฎีฯ ก็ขออภัยมาล่วงหน้า ณ ที่นี้ด้วยครับ เพราะวัตถุประสงค์คืออยากให้คนทั่วไปหรือเจ้าของธุรกิจที่ไม่ได้สนใจ technical อ่านเข้าใจง่ายๆ)


แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงต้องเป็น Chatbot แต่เราจะขอเก็บไว้พูดถึงในลำดับสุดท้ายที่สุดเลยเพราะน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว


1.) Hotel Jarvis -ใช้เป็นจาร์วิสซะเลย ประโยชน์คือ: ใช้มาช่วยเจ้าของหรือแอดมินทำงานเหมือนจาร์วิสในหนังเรื่องไอรอนแมน!

แชทบอท AI ที่ทำหน้าที่เหมือนจาร์วิสในภาพยนตร์ไอรอนแมน, ช่วยเหลือเจ้าของและแอดมินในการจัดการงานต่างๆ ในโรงแรม, ตอบคำถามลูกค้าด้วยความเร็วสูง, และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็วและแม่นยำ, นำเสนอภาพของการปฏิวัติวงการบริการโรงแรมด้วยเทคโนโลยี AI ที่ทันสมัย
ใช้เป็น Hotel Jarvis ซะเลย

ลองนึกถึงความสามารถในการตอบคำถามของ Chat GPT ที่เก่งอยู่แล้วในการให้คำตอบเรื่องกว้างๆ เรื่องทั่วไป เมื่อเรานำ AI มาให้เรียนรู้ข้อมูลของเรา เราก็สามารถสร้าง AI จาร์วิส ที่เป็นเหมือนสารานุกรมฉลาดที่สามารถตอบทุกอย่างหรือให้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของเราได้ (ส่วนรายละเอียดว่า เราจะสอนน้อง GPT ให้รู้จักธุรกิจของเราและข้อมูลที่จำเพาะเจาะจงกับธุรกิจของเราได้อย่างไร มันมีหลากหลายเทคนิคมาก สามารถหาอ่านได้ในบทความอื่นๆของเรานะครับ)


"นักค้นข้อมูลด้วยความเร็วสูง"

เราสามารถใช้ความสามารถของ AI ในการช่วยเราในเรื่องต่างๆที่โดยปกติต้องกินเวลาแอดมินในการค้นข้อมูล เช่น ใช้จาร์วิสในการหาห้องว่างด้วยความเร็วสูง สมมติลูกค้าทักไลน์มาว่า "ห้อง deluxe ช่วงเดือนตุลาที่ตรงกับวันหยุด มีว่างบ้างไหม ว่างวันไหนบ้าง" เจ้า AI สามารถแปลงภาษาของมนุษย์ที่เราเรียกว่าภาษาธรรมชาติ (natural language) เป็นภาษาที่ไว้คุยกับฐานข้อมูลโรงแรม (เช่น SQL: Structured Query Language) เพื่อช่วยแอดมินในการหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็วในทันที


เราอาจจะเจอคำถามลักษณะว่า "ขอย้ายจากห้อง deluxe เป็นห้องที่เป็น pool access ได้ไหม" "ช่วงนี้ สาขาภูเก็ตมีโปรอะไรบ้าง" "แถวนี้มีร้านซีฟู้ดอะไรน่าสนใจบ้าง" "สัปดาห์หน้าฝนตกมั้ย" ซึ่งโดยปกติอาจไม่ได้มีการเก็บไว้ในรูปแบบฐานข้อมูลโดยตรงเช่นอาจจะเก็บไว้ในรูปแบบ จดโน้ตเอาไว้ใน MS word, notepad, csv, excel, pdf หรือบางทีต้องเสิร์ช google ข้อมูลเหล่านี้ที่เดิมทีต้องอาศัยความจำหรือประสปการณ์พนักงาน เราสามารถสอนจาร์วิสและแปลงข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้จาร์วิสสามารถเข้าไปขุดคุ้ยไฟล์เอกสารในคอมฯของเราและหาคำตอบที่ถูกต้องมาให้เราได้ด้วยความรวดเร็ว รวมถึงอาจตั้งค่าให้จาร์วิสช่วยคิดคำตอบกลับแบบสุภาพให้ไว้เลยแอดมินก็อบแปะอย่างเดียว

"เพิ่มความเร็วในการทำงาน x10"

ต้องบอกว่าความสามารถในการช่วยเหลือและลดภาระนี้จะเป็นประโยชน์มากในแทบจะทุกกลุ่มธุรกิจเวลาลูกค้าทักเข้ามาเยอะๆหรือกรณีที่เรามีสินค้าเยอะมากๆ ยกตัวอย่างเช่นโปรเจ็กที่เราเคยร่วมมือกับลูกค้าเจ้าหนึ่งของเราที่ประกอบธุรกิจประเภท gadget ที่มีสินค้ามากมายหลายหมื่น SKU จากการนำจาร์วิสเข้าไปช่วยงาน ทำให้แอดมินของเราทำงานได้เร็วขึ้นกว่า 10 เท่า!


"วุ้นแปลภาษา"

นอกจากนั้นเราสามารถสร้างจาร์วิสเอาไว้เป็นที่ปรึกษาแอดมินบางคนที่อาจยังอ่อนภาษา เช่นแอดมินอาจจะยังไม่เก่งภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนมากนักเวลาลูกค้าถามอะไรมาแล้วเราพยายามอธิบาย (ลูกค้าบางทีถึงแอดมินส่งข้อมูลให้แล้วเช่นส่งเพจที่อธิบาย Terms of Service ไป พวกนี้ก็ไม่ชอบอ่าน จะถามอยู่นั่นแหละ) ครั้นแอดมินจะไปใช้ google translate หรือ chat gpt เราก็กลัวว่าข้อมูลที่ได้จะเพี้ยนหรือเปล่า จะไม่ตรงกับโรงแรมเราหรือเปล่า เราสามารถใช้ AI ตัวนี้ที่ถูกสอนด้วยฐานข้อมูลของเราเองในการช่วยเป็นล่ามแปลภาษาหรือคิดข้อความตอบกลับลูกค้า หรือแปลข้อความที่สำคัญอย่างนโยบายต่างๆของโรงแรมมาอธิบายให้ลูกค้าชาวต่างชาติทราบอย่างตรงประเด็นและตรงจุดที่เขาสงสัยจริงๆ

2.) Customer insights & Competitors tracking ประโยชน์คือ: เอา AI ไปแอบอ่านเว็ปต่างๆเพื่อสำรวจและสรุปว่าลูกค้าหรือผู้รีวิวพูดถึงเรา (หรือคู่แข่ง) ว่าอย่างไร มีปัญหาอะไรไหม


หุ่นยนต์แข่งวิ่งกับยูเซน โบลต์, แสดงการใช้ AI เพื่อความได้เปรียบในธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโรงแรมเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและติดตามคู่แข่ง, เป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจ และนวัตกรรมใหม่ๆ
เมื่อ AI ท้าชิงความเร็วกับยูเซน โบลต์ (ภาพในจินตนาการ): AI เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เวลาลูกค้าพูดถึงเราบนโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หรือบล็อก ข้อมูลเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายและไม่มีรูปแบบที่ตายตัว (unstructured data) เราสามารถนำระบบ scraping bot (ระบบที่ไปอ่านเว็ปไซต์ด้วยวิธีการไปดูดโค้ดมา) มาใช้งานร่วมกับ GPT เพื่อให้ AI ช่วยเราคิดวิเคราะห์ว่า ตอนนี้เราหรือคู่แข่งถูกพูดถึงอย่างไรในโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของห้อง ผลิตภัณฑ์ และบริการ ราคา หรือมีการเปรียบเทียบเรากับคู่แข่งไว้ว่าอย่างไรบ้างหรือไม่ เราควรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้ AI ในธุรกิจเพื่อการติดตามคู่แข่งยกตัวอย่างงานที่เราเคยทำให้กับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอื่น เช่นการสร้าง AI เพื่อแอบดูราคาคู่แข่ง ดูการตัดราคา และติดตามโปรโมชั่นของคู่แข่งรายสัปดาห์หรือรายเดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างเป็นกลยุทธ์ต่อไป

3.) FAQ god !!! (Frequently Asked Question) ประโยชน์คือ: สร้าง AI ที่ใช้ตอบทุกคำถามพบบ่อย (ที่แอดมินขี้เกียจตอบแล้วหรือเสียเวลาในการไปหาคำตอบ) ด้วยความเร็วสูงและแม่นยำ


ภาพเชิงเปรียบเทียบของหุ่นยนต์ที่กำลังบริหารจัดการล็อบบี้ที่มีลูกค้ามากมายด้วยความสามารถของ AI, สะท้อนถึงการประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจโรงแรมและเทคโนโลยีล้ำๆ ที่เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมในการบริการและอนาคตของธุรกิจโรงแรมในยุค 4.0, แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของโรงแรมไร้พนักงานด้วยเทคโนโลยี AI
AI เทพแห่ง FAQ ตอบเร็ว ไม่เหนื่อย ไม่พัก
"AI เข้าใจว่าลูกค้าอยากได้อะไร เหมือนคน ทำให้ตอบคำถามได้ตรงประเด็น (แต่ไม่มีเหนื่อย ไม่มีพัก)"

อันนี้ก็จะคล้ายๆกับจาร์วิสที่เราพูดถึงแต่แทนที่จะเป็นผู้ช่วยแอดมิน เราให้บอทตอบลูกค้าไปเลยโดยตรง โดยตั้งให้ตอบคำถามที่พบบ่อยและคำตอบค่อนข้างเป็นแพทเทิร์นตายตัว เมื่อก่อนสำหรับคนที่เล่นไลน์หรือใช้ Line OA สำหรับธุรกิจอาจมีการตั้งค่า Keyword เอาไว้ เช่น ห้องว่าง, ห้องพัก แล้วพอมีคำเหล่านี้ให้ส่งข้อความอัตโนมัติกลับไป บางทีกลับไม่เวิร์ค เช่นลูกค้าอาจจะไม่ได้พิมมาตรงๆคีย์เวิร์ด เช่นอาจจะพิมพ์ว่า "เดือนเมษาปีหน้ายังว่างมั้ยคะ" ระบบคีย์เวิร์ดก็จะไม่สามารถทำงานได้ หรือลูกค้าอาจเผลอพิมพ์คีย์เวิร์ดแต่ไม่ได้มี "intention" (ความประสงค์) ที่จะสอบถามห้องว่าง เช่น "เข้าห้องพักได้กี่โมงคะ" ลูกค้าอยากรู้ว่า chek-in ได้กี่โมงไม่ได้อยากได้ห้องว่าง เป็นต้น เราสามารถสอน AI ให้จับ intention ของคนได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากคีย์เวิร์ดแต่ให้ AI คาดเดาความต้องการของลูกค้าแทน กรณีที่มักเจออีกอย่างคือลูกค้า (โดยเฉพาะคนไทย) มักจะชอบพิมพ์ทีละหลายๆข้อความติดๆกัน ซึ่งหากทำระบบตอบกลับไม่ดีมันก็จะไปไล่ตอบทุกข้อความซึ่งไม่มีความจำเป็น เช่น "สวัสดีค่ะ" "ห้อง deluxe ช่วงปลายเดือนมกราปีหน้ายังว่างไหมคะ" "รบกวนเช็กกุมภาให้ด้วยค่ะ" "ขอบคุณค่ะ" พิมพ์มาสี่ข้อความแบบนี้ ระบบ AI ควรจะตอบกลับไปข้อความเดียวไปเลยมากกว่า เป็นต้นครับ

"ถ้าเราลดงานแอดมินได้ 50% แปลว่าเขาจะทำงานได้เร็วขึ้น 2 เท่า"

จากการทำงานกับลูกค้าในหลายๆกลุ่มธุรกิจ เราพบว่า กว่า 50% ของคำถามเป็นคำถามประเภท FAQ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการปิดการขายโดยตรง เช่น ถามเรื่องที่จอดรถ, ถามเรื่องการเดินทางมา, ถามว่าเอาสัตว์เลี้ยงไปได้ไหม, ถามเรื่องการจัดส่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นคำถามที่จำเป็นต้องตอบเพื่อเป็นการบริการลูกค้าแต่เป็นสิ่งที่เสียเวลาแอดมินพอสมควรถึงแม้จะเป็นการตอบด้วยแพทเทิร์นซ้ำๆ แต่ในทางกลับกัน การนำ AI มาช่วยตอบคำถามเหล่านี้ทั้งหมดได้ ก็เท่ากับว่าเราทำให้ทีมแอดมินของเราทำงานได้เร็วขึ้น 2 เท่า!! และให้ทุกคนสามารถโฟกัสความสนใจไปที่การปิดการขายเพื่อสร้างยอดขายให้กับธุรกิจ

4.) Staff Recruiting and Training ประโยชน์คือ: เอาไว้เป็นผู้ช่วยตั้งแต่ขั้นตอนหาพนักงานจนถึงสอนพนักงานใหม่


ภาพจำลองของหุ่นยนต์กำลังสัมภาษณ์ผู้สมัครงานด้านโรงแรมหน้าใหม่ในห้องประชุม, สะท้อนถึงการใช้ AI ในการคัดเลือกและประเมินพนักงานเพื่อความเป็นระบบและประหยัดเวลา, แสดงถึงนวัตกรรมใหม่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในธุรกิจโรงแรม, พร้อมทั้งการใช้ AI ในการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานใหม่อย่างเป็นระบบ
ภาพในจินตนาการของการสัมภาษณ์ยุคใหม่: หุ่นยนต์ช่วยเรื่องตัดสินใจเรื่องทีมงานโรงแรม

มีหลายบริษัทที่ในวันวันหนึ่งมีคนสมัครเข้ามาทำงานมากมายและหลายครั้งถ้าไม่มีใครทำตำแหน่งคัดเลือกพนักงานนี้ เจ้าของมักจะต้องลงมาทำเอง การนำ AI มาช่วยจึงสามารถประหยัดเวลาและยังทำให้ขั้นตอนการคัดเลือกเป็นระบบมากขึ้น ไม่ว่าจะตั้งแต่การทำระบบ AI เพื่อแชทสัมภาษณ์คัดกรองผู้สมัครงานเบื้องต้นและประเมินให้คะแนน candidate ในด้านต่างๆ เช่น ภาษา, ประสบการณ์, ความรู้ทั่วไป, ความคาดหวัง ฯลฯ หรือการให้ AI ช่วยอ่าน CV ของ candidate ที่ต่างคนต่างส่งมามีฟอร์แมตหลากหลาย ย่อยข้อมูลของทุก candidate และสรุปลงใน template ที่เราต้องการ เช่นสรุปเป็น excel ที่มีแบ่งหัวข้อไว้คร่าวๆเช่น ชื่อ, ปีสบการณ์, ภาษาที่ได้, skills, การศึกษา, เงินเดือนคาดหวัง ฯลฯ เพื่อให้ อ่านง่าย, สั้น, กระชับ ในหน้าเดียวเพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบก็ได้เช่นกัน

หลังจากรับเข้ามาแล้ว ก็ยังมีหลายวิธีมากที่เราจะสอนพนักงานของเราโดยใช้ AI เช่น การให้ AI จำลองว่าตัวเองเป็นลูกค้าและพูดคุยกับพนักงาน front desk หน้าใหม่ อาจจะผ่านการแชทหรือจำลองบทสนทนาด้วยเสียง และให้ AI ประเมินพนักงานพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงพัฒนา ให้ AI ควิซพนักงานในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับโรงแรม (Knowledge Quizzes) เช่น การแนะนำสถานที่หรือ facility ต่างๆของโรงแรม หรือนโยบายต่างๆของโรงแรม เป็นต้นครับ

5.) Chatbot (ดูเหมือนจะตรงไปตรงมาที่สุดแต่ก็มีความยาก)


ภาพจินตนาการแสดงการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์แชทบอทและพนักงานมนุษย์ที่โต๊ะบริการลูกค้าในสำนักงานทันสมัย, โดยมีพนักงานช่วยแนะนำแชทบอทในการสื่อสารกับลูกค้าชาวไทย, แสดงถึงการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างเทคโนโลยี AI กับความเชี่ยวชาญของมนุษย์
บริการลูกค้าแบบไฮบริด, ความเข้าใจภาษาไม่ใช่ปัญหา!

และแน่นอนปราการสุดท้ายที่ทุกคนรู้และเข้าใจอยู่แล้วคือการนำมาเป็น chatbot เพื่อตอบคำถามลูกค้า ส่วนประโยชน์ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ดังนั้นในบทความนี้จะขอเน้นพูดถึงข้อควรระวังในการใช้แชทบอทในการคุยกับลูกค้าพร้อมวิธีการรับมือกันนะครับ

"คน(ไทย)ไม่ค่อยชอบบอท ไม่อยากคุยกับบอท (ถ้าเขารู้ตัว...)"

อันนี้เป็นอคติที่ปฎิเสธไม่ได้ อาจเป็นเพราะเรามักมีประสบการณ์แย่ๆกับระบบอัตโนมัติหรือแชทบอท ตัวอย่างเช่นแชทบอทของสายการบิน lowcost ประเทศเพื่อนบ้านแห่งหนึ่งขึ้นต้นด้วยตัว A ที่ชอบถามวนไปวนมาพูดไม่รู้เรื่องจนลูกค้าโมโห วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคืออย่าเพิ่งรีบฝืนใช้ครับ และวางแผนการค่อยๆนำ AI มาช่วยงานแอดมินให้ตอบแชทได้เร็วขึ้นดีกว่า เช่นการสร้างจาร์วิสหรือการทำระบบตอบกลับ FAQ ด้วยความเร็ว และใช้มนุษย์ในการปิดการขาย

จากประสบการณ์ที่เคยร่วมมือกับธุรกิจต่างๆในการนำ AI มาใช้ในองค์กร เราพบว่าโครงการที่จะประสบความสำเร็จจะเป็นการนำ AI มาใช้ในลักษณะ co-pilot ก่อนคือการค่อยๆนำ AI มาช่วยคนในทีมเหมือนเป็นผู้ช่วยกัปตันเครื่องบิน และเปลี่ยนแอดมินธรรมดาให้กลายเป็น superman ที่ทำงานได้ 10 เท่าของคนปกติ

"มีโอกาสเกิดอาการ Hallucination หรือการ "มโน" ในแบบของ AI"

เพราะว่าเจ้า AI ตัวนี้มันเก่งมากจนบางครั้งมันก็สามารถมโนเรื่องอะไรก็ไม่รู้ที่มันคิดไปเองมาตอบเราหรือลูกค้าได้ถ้าเขียน prompt ไม่ดีหรือไม่มีมาตรการป้องกันที่ดีพอ ซึ่งจะสร้างความสับสนหรืออาจจะถึงขั้นสร้างความเสียหายกับธุรกิจได้ในกรณีที่เราปล่อยให้แชทบอทนี้ไปตอบอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเงินหรือความปลอดภัยของลูกค้า สิ่งนี้อันตรายมากหากโปรแกรมเมอร์ที่สร้างแชทบอทนี้ขาดประสบการณ์หรือไม่เคยทำมาก่อน แนวทางแก้ไขคือการทำมาตรการรับมือ Hallucination มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกฎที่ชัดเจนว่าอะไรตอบกลับได้อะไรตอบกลับไม่ได้, สร้างแพทเทิร์นในการตอบกลับที่รัดกุมหรือตายตัว, การเขียน prompting เพื่อป้องการ hallucination, การเขียน automate testing เพื่อทดสอบทุกครั้งก่อนปล่อยเวอร์ชั่นใหม่, การให้มี human-in-the-loop หรือต้องผ่านการ approve ของมนุษย์สำหรับคำถามบางประเภท เป็นต้น ซึ่งบทความนี้เราจะยังไม่ลงรายละเอียดในกระบวนการนี้ครับ แต่ก็อยากให้พึงระลึกไว้ถึงอันตรายตรงนี้หากคุณกำลังจะใช้ chatbot สำหรับธุรกิจของคุณ

"โมเดลส่วนใหญ่ในตลาด (ตอนนี้) ยังไม่ค่อยเก่งภาษาไทยเท่าภาษาอังกฤษ"

อย่างที่ทราบกันว่า หลายๆ โมเดล AI ที่ใช้ในแชทบอทนั้นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อนำมาใช้กับภาษาไทยอาจพบปัญหาเรื่องความถูกต้องและความเข้าใจในภาษาไทยที่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้การตอบคำถามหรือการสื่อสารผ่านแชทบอทเกิดข้อผิดพลาดหรือความไม่เข้าใจจากลูกค้า วิธีการรับมือก็จะมีได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโมเดลแชทบอท หรือการจูนโมเดลแบบที่เฉพาะเจาะจงสำหรับภาษาไทย โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านโมเดลภาษา และภาษาไทยเพื่อปรับปรุงความเข้าใจในภาษาและลักษณะเฉพาะของการสื่อสารในภาษาไทย รวมถึงการทดสอบและปรับปรุงโมเดลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถตอบสนองและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับลูกค้าชาวไทย

การให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้จะช่วยให้การใช้แชทบอทในธุรกิจโรงแรมของคุณมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าได้มากขึ้นครับ



นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเล็กน้อยของนวัตกรรมการบริการโรงแรมเพียงอย่างเดียวซึ่งในตอนนี้ผู้ประกอบการหลายเจ้ากำลังให้ความสนใจกับนวัตกรรมโรงแรมในอนาคต อย่างโรงแรมไร้พนักงาน และเชื่อว่าในอนาคตเราคงจะมีโอกาสได้เห็นเทคโนโลยีล้ำๆ ในโรงแรมอีกมากมาย อนาคตของธุรกิจโรงแรมในยุค 4.0 และธุรกิจการท่องเที่ยวสมัยใหม่ค่อนข้างที่จะน่าสนใจทีเดียวครับ


ภาพในจินตนาการที่มีทั้งพนักงานมนุษย์และหุ่นยนต์ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืนที่โต๊ะบริการหน้าโรงแรม, แสดงถึงการผสมผสานของยุคเก่ากับเทคโนโลยีใหม่ในบริการลูกค้า
co-pilot คู่หูแห่งอนาคต คือการผสานเสน่ห์ของความเป็นมนุษย์กับความแม่นยำของหุ่นยนต์!

แต่สุดท้ายหัวใจของธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจใดๆก็ตามก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไป คือ "การบริการที่มาจากใจและการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า" ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีใดๆเข้ามา เทคโนโลยีเหล่านั้นก็ควรถูกใช้เพื่อเสริมสร้างและยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า เพราะในท้ายที่สุดความรู้สึกของความเป็นมนุษย์และการสร้างความผูกพันของแบรนด์กับลูกค้ายังคงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ด้วยเทคโนโลยีใดๆ และนั่นจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จในธุรกิจอย่างยั่งยืนครับ


บริษัท ไอเอ็ม อิมพาวเวอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้าน AI Transformation ให้กับเจ้าของธุรกิจมากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เราเคยร่วมงานกับลูกค้าในหลายภาคส่วน ทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท, การท่องเที่ยว, ทัวร์, คลินิกเสริมความงามชื่อดัง, โรงพยาบาล, แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง และอื่นๆอีกมากมาย

ซึ่งนอกจากการให้คำปรึกษาแล้ว เรายังเป็นผู้พัฒนาโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์และสร้างสรรค์เฉพาะตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

เรามุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของคุณ

ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความรู้ทางด้าน AI ที่ลึกซึ้ง เราพร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดและมืออาชีพในการนำธุรกิจของคุณก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพและมั่นคงครับ


ติดต่อเราได้ที่: techlead@imimpowerconsulting.com

หรือนัดปรึกษากับเราว่า AI จะสามารถใช้งานในธุรกิจของคุณได้อย่างไร: https://calendly.com/joeimpower/business-introduction-call

(Book a FREE discovery call with us here!)


218 views0 comments

コメント


bottom of page